มีประเด็นที่สำคัญที่ควรสนใจและพิจารณาดังต่อไปนี้
1. รูปแบบและขนาด
2. ระบบดูดควัน
3. การเตรียมการสำหรับการติดตั้งเครื่องดูดควัน
1.รูปแบบและขนาด
เครื่องดูดควันที่ใช้กันตามบ้านจะมีรูปแบบภายนอก และระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง
ที่ คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ จะมีสวิตช์เปิดและปิดเครื่อง สวิตช์ควบคุมความแรงพัดลม และสวิตช์ ไฟส่องสว่าง มีขนาดความกว้างของตัวเครื่อง ให้เลือกอยู่ในช่วง 60-90 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของห้องครัว และขนาดของเตาไฟ ที่ใช้ในการทำอาหาร โดยเครื่องดูดควันขาดใหญ่จะมีพัดลม 2 ตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดควัน ในขณะที่เครื่องขนาดเล็ก จะมีพัดลมเพียงตัวเดียว ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นแรกที่ต้องพิจารณา ในการเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกเหนือไปจากการเลือกยี่ห้อ
2.ระบบการดูดควัน
เครื่องดูดควันประเภทนี้สามารถแบ่งระบบการดูดควันออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่
2.1 ระบบดูดควันภายนอก
เป็น ระบบที่มีการต่อท่อเพื่อดูดเอากลิ่น และควันต่างๆ ออก สู่ภายนอก โดยพัดลมที่ติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่อง จะทำหน้าที่ดูดกลิ่น ควันและไอน้ำมันต่างๆ ออกทางท่อ ที่ต่ออยู่ทางด้านบนหรือด้านหลังของเครื่อง เพื่อนำออกสู่ภายนอก โดยผ่านแผ่นใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งไว้ เพื่อกรองเอาคราบไขมันและเขม่า ที่จะไปเกาะติดที่ตัวพัดลมของเครื่อง การติดตั้งและใช้งานระบบนี้ ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องเจาะกำแพงหรือหลังคา และเตรียมแนวทางเดินของท่อควันเอาไว้ล่วงหน้า แต่ระบบนี้มีประสิทธิภาพในการดูดควันค่อนข้างดี เพราะมีการดูดอากาศออกสู่ภายนอก
2.2 ระบบหมุนเวียนภายใน
เป็น ระบบที่ไม่มีการต่อท่อ เพื่อดูดควันเอากลิ่นและควันต่างๆ ออกสู่ภายนอก แต่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อดูดซับกลิ่น ควันและไอน้ำมันต่างๆ แทน นอกเหนือจากแผ่นใยสังเคราะห์ ที่ติดตั้งไว้เช่นในระบบแรก โดยอุปกรณ์เพิ่มเติมดังกล่าวจะทำจากวัสดุ จำพวกถ่านกัมมันต์ ( activated charcoal filter ) ซึ่งจะดูดซับกลิ่น ควัน และเขม่าต่างๆ ได้ดี โดยจะทำการติดตั้งไว้ตรงด้านล่าง ใกล้กับตัวพัดลมที่ทำหน้าที่ดูดควัน การติดตั้งและการใช้งานของระบบนี้ค่อนข้างง่าย เพราะไม่ต้องมีการเจาะกำแพงหรือหลังคา หรือเดินท่อให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับใช้ในห้องครัวของอาคารชุด แฟลต หรือทาวน์เฮาส์ ซึ่งไม่มีจุดที่ จะให้ต่อท่อเพื่อระบายควันออก แต่ประสิทธิภาพในการดูดควันของระบบนี้ค่อนข้างต่ำ เพราะอุปกรณ์ ดูดซับที่ติดตั้งไว้ สามารถดูดซับกลิ่น ควัน และเขม่าได้อย่างจำกัด และต้องคอยเปลี่ยนใหม่เป็นระยะๆ เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวหมดสภาพ อีกทั้งกำลังลมในการดูดควันต่างๆ ก็ให้ผลได้ไม่เต็มที่เนื่องจากไม่มี ช่องระบายลมออก เครื่องดูดควันที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะมีทั้ง 2 ระบบ ในเครื่องเดียวกันให้เลือกใช้ โดยจะมีช่องสำรองไว้ทั้งบริเวณด้านบนและด้านหลัง ของตัวเครื่องไว้สำหรับต่อท่อเพื่อระบายอากาศ ออกสู่ภายนอกได้ โดยจะมีฝาปิดไว้ให้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน และอุปกรณ์ดูดซับกลิ่นและควันต่างๆ เพิ่มเติมมาให้ด้วย เพื่อให้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้ สำหรับการใช้งานในระบบหมุนเวียนภายใน แต่ผู้เขียนขอแนะนำว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆ แล้วไม่ควรเลือกใช้ระบบหมุนเวียนภายใน เพราะให้ประสิทธิ ภาพในการใช้งานต่ำ ควรใช้ระบบดูดออกภายนอก ซึ่งให้ประสิทธิภาพดีกว่ามาก
การเตรียมการสำหรับการติดตั้ง
เนื่อง จากเครื่องดูดควัน เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องติดตรึงเข้ากับผนังหรือตู้ภายในห้องครัว ฉะนั้นจึง จำเป็นต้องมีการเตรียมการไว้บ้าง เพื่อให้การติดตั้งทำได้อย่างเหมาะสมและเรียบร้อย โดยการติดตั้ง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 จุดใหญ่ๆ คือ การติดตั้งตัวเครื่องและการเดินท่อดูดควัน